22 กรกฎาคม 2554

ใบ ( Leaves )

ใบ ( Leaves )
เป็นอวัยวะที่เจริญออกไปบริเวณด้านข้างโดยมีตำเหน่งอยู่ที่ข้อปล้องของต้นและกิ่งใบส่วนใหญ่จะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์รูปร่างและขนาดของใบแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช หน้าที่หลักของใบคือใช้ในการสังเคราะห์แสง การหายใจและการคายน้ำ

ลักษณะโครงสร้างภายในของใบ
ส่วนประกอบของใบมี 3 ส่วนคือ แผ่นใบ ( blade หรือ lamina ) ก้านใบ ( petiole ) และหูใบ ( stipule )

โครงสร้างของใบ
ภาพ โครงสร้างของใบ

1.แผ่นใบ ( blade หรือ lamina ) มักแผ่เป็นมีขนาดใบและรูปร่างต่างกัน
1.1เส้นใบ ( vein ) ให้สังเกตเส้นกลางใบ ( midrib ) ซึ่งต่อเป็นเนื้อเดียวกับก้านใบ จากเส้นกลางใบแยกออกเป็นเส้นใบ ซึ่งจะแยกแขนงออกไปอีกเป็นเส้นแขนงใบ ( vientet )

ารเรียงของใบ ( venation )
เส้นใบแบบขนาน ( parallel venation )พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แบ่งเป็นเรียงตามยาวของใบ (plamately parallel venation) และเส้นใบขนานกันตามขวางของใบ ( pinately parallel venation )

ภาพ เส้นใบขนานเรียงตามาวของใบ (plamately parallel venation)



ส่วนของใบเลี้ยงคู่เป็นแบบตาข่าย ( netted หรือ recticulated venation ) ซึ่งมี 2 แบบคือ
- แบบตาข่ายขนนก ( pinnately netted venation )
- ตาข่ายแบบรูปมือ ( palmately netted venation )


2. ก้านใบ ( petiole )
ติดกับแผ่นใบตรงฐานใบ ยกเว้นบางชนิดก้านใบติดตรงกลางหรือตรงด้านในของแผ่นใบ ก้านใบสั้นบ้าง ยาวบ้าง หรือไม่มีก้านใบเลย เรียก sessile leaf ก้านใบโดยมากมีลักษณะกลม ใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ก้านใบแผ่หุ้มลำต้นเรียกกาบใบ ( leaf sheath )


ภาพ ก้านใบ


3. หูใบ ( stipule )
เป็นระยางค์ อยู่ตรงโคนก้านใบ ถ้าเป็นหูใบของในย่อย ( leaflet ) เรียกหูใบย่อย ( stiple ) หูใบมีลักษณะเป็นริ้ว หนามหรือต่อมเล็ก ๆ ส่วนใหญ่มีสีเขียว หูใบมีรูปร่างขนาดและสีต่างกัน
ภาพ หูใบ

การจัดเรียงของใบบนต้น ( leaf arrangment ) ใบที่ออกมาจากส่วนของลำต้น แบ่งออกได้กว้าง ๆ 3 แบบคือ 1.แบบสลับ ( alternate หรือ spiral ) 2.แบบตรงข้าม ( opposite ) และ3. แบบวง ( whorled )


ใบเดี่ยวและใบประกอบ
1.ใบเดี่ยว ( simple leaf ) ใบที่มีแผ่นใบแผ่นเดียว


ภาพ ใบเดี่ยว

2.ใบประกอบ (compound leaf )คือใบที่มีแผ่นใบมากกว่าหนึ่งเกิดบนก้านใบอันเดียวกันแต่ละใบ เรียกว่าใบย่อย ( leaflet ) ก้านของใบย่อยเรียกว่า petiolule หรือ petiolet ใบเดี่ยวหรือใบประกอบสังเกตได้โดยใบเดี่ยวมีตาข้าง ( arillary bud ) หรือ ตายอด ( terminal bud ) อาศัยดูความอ่อนแก่ของใบ ถ้าเป็นใบประกอบจะแก่พร้อม ๆ กัน แต่ถ้าเป็นกิ่งของใบเดี่ยว ใบตอนโคนจะแก่กว่าใบตอนปลายกิ่ง ใบประกอบแยกออกได้ดังนี้
2.1)ใบประกอบแบบขนนก ( pinnately compound leaf ) มีใบย่อยออก 2 ข้างของแเกนกลาง ( rachis) ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อกับก้านใบ ใบประกอบมีใบย่อยออกแกนกลาง 2 ครั้ง เรียกใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ( bipinnately compound leaf ) แกนของใบประกอบใบย่อยแยกออกจากแกนกลาง นี้เรียก rachilla พืชบางชนิดมีใบประกอบแบบ tripinnately compound leaf คือมีการแตกแขนงของใบ ย่อยเช่นเดียวกับใบประกอบแบบขนนกสองชั้นแต่เพิ่มมาอีก หนึ่งชั้น

ใบประกอบขนนก
ภาพ ใบประกอบแบบขนนก

2.2)ใบประกอบแบบรูปมือ ( palmately compound leaf ) คือใบประกอบที่มีใบย่อยทุกใบออกมาจากตำเหน่งเดียวกันตรงปลายก้านใบ ใบประกอบแบบนี้ถ้ามี 3 ใบย่อยเรียก trifoliolate ถ้ามี 4 ใบเรียก quadrifoliolate และถ้ามีใบย่อยมากกว่านี้เรียก polyfoliolate trifoliolate อาจเป็นใบประกอบแบบขนนกถ้ามี rachis

ใบประกอบรูปมือ
ภาพ ใบประกอบรูปมือ

โครงสร้างภาคตัดขวางของใบแทประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน คือ
2.1 ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) มี 2 ด้านคือเอพิเดอร์มิสด้านบน(Upper epidermis) กับ เอพิเดอร์มิสด้านล่าง (Lower epidermis)
2.2 ชั้นมีโซฟีลล์ (Mesophyll) แบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อยคือ พาลิเสดมีโซฟีลล์(Palisade mesophyll) และ สปองจีมีโซฟีลล์ (Spongy mesophyll)
2.3 มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) ประกอบด้วย Xylem กับ Phloem โดยไซเล็มจะอยู่ด้านบน ส่วน Phloem จะอยู่ด้านล่างโดยมีบัลเดิลชีทล้อมรอบ

โครงสร้างใบโครงสร้างใบ
ภาพ โครงสร้างของใบ

2. ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ (Modified leaf)
ได้แก่
2.1 มือเกาะ (leaf tendril) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นมือเกาะเพื่อพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบ เช่น มือเกาะของถั่วลันเตา มะระ ตำลึง


ภาพ มือเกาะของมะระ
ภาพมือเกาะของตำลึง

มือเกาะของถั่วลันเตา

2.2 หนาม (Leaf spine) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนาม เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกัน อันตรายต่างๆจากศัตรูหรือสัตว์ ที่จะมากิน และป้องกันการระเหยของน้ำ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบก็ได้ เช่นหนามของต้นเหงือกปลาหมอ เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบและหูใบ หนามของต้นกระบองเพชรและ เปลี่ยนแปลงมาจากใบทั้งใบ หนามของมะขามเทศเปลี่ยนแปลงมาจากหูใบ หนามของสับปะรด เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบ

ต้นเหงือกปลาหมอ
ภาพ ต้นเหงือกปลาหมอ
สับปะรด
ภาพ ต้นสับปะรด
กระบองเพชร
ภาพ ต้นกระบองเพชร

2.3 ใบสะสมอาหาร (Storage leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็น อวัยวะสำหรับเก็บหรือสะสมอาหารหรือน้ำ ใบประเภทนี้จะมีลักษณะอวบอ้วน เนื่องจากเก็บอาหาร และอมน้ำไว้มาก เช่น ใบเลี้ยงของพืชต่างๆ ใบว่านหางจระเข้ กลีบหัวหอม และ กลีบของกระเทียม

ว่านหางจระเข้
ภาพ ว่านหางจระเข้

หอมแดง
ภาพ หัวหอม

กระเทียม
ภาพ กระเทียม

2.4 ใบเกล็ด (Scale leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเกล็ดเล็กๆ ใบเกล็ดมักไม่มี คลอโรฟิลล์ เช่น เช่นใบเกล็ดของขิง ข่า เผือก

ขิง
ภาพ ใบเกล็ดของขิง

ข่า
ภาพ ใบเกล็ดของข่า

2.5 ทุ่นลอย (Floating leaf ) พืชน้ำบางชนิด เช่นผักตบชวา สามารถลอยน้ำอยู่ได้ โดยอาศัยก้านใบอาศัยก้านใบพองโตออก ภายในมีเนื้ออยู่กันอย่างหลวมๆ และมีช่องว่างอากาศใหญ่ทำให้มีอากาศอยู่มาก จึงช่วยพยุงให้ลำต้นลอยน้ำอยู่ได้
ผักตบชวา
ภาพ ทุ่นลอยของผักตบชวา

2.6 ใบประดับ หรือใบดอก (Bract ) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงพิเศษเพื่อรองรับดอก โดยอยู่บริเวณก้านดอกส่วนมากมีสีเขียว แต่มีหลายชนิดที่มีสีอื่นๆ สวยงามคล้ายดอก เช่น เฟื่องฟ้า หน้าวัว คริสต์มาส

ใบประดับของเฟื่องฟ้า
ภาพ ใบประดับของดอกเฟื่องฟ้า

ใบประดับของดอกหน้าวัว
ภาพใบประดับของดอกหน้าวัว



ใบประดับของต้นคริสมาศ

ภาพ ใบประดับของต้นคริสต์มาส (Poinsettia)

2.7 ใบสืบพันธุ์ เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาเพื่อสืบพันธุ์ เพื่อช่วยในการแพร่พันธุ์ เช่น ใบของต้นตายใบเป็น


ต้นตายใบเป็น

ภาพ ใบสืบพันธุ์ของต้นตายใบเป็น


2.8 กับดักแมลง เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดักแมลง หรือสัตว์เล็ก ภายในกับดักจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหารจำพวก โปรตีน เช่นต้นกาบหอยแคลง หยาดน้ำค้าง สาหร่ายข้าวเหนียว หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้น

ใบกำดักของสาหร่ายข้าวเหนียว
ภาพ ใบกำดักของสาหร่ายข้าวเหนียว

ดอกสาหร่ายข้าวเหนียว
ภาพ ดอกของสาหร่ายข้าวเหนียว

ต้นหยาดน้ำค้าง


ต้นหยาดน้ำค้าง
ภาพ ต้นหยาดน้ำค้าง

ใบกับดักของต้นกาบอยแคลงเวลาหุบใบ

กาบหอยแคลง
ภาพ ใบำดักของต้นกาบหอยแคลง

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ต้นกาบหอยแคลง
ภาพ ต้นกาบหอยแคลง

ใบ ( Leaves )

โครงสร้างภายนอกและภายในของใบ : )

โครงสร้างของใบ

1. โครงสร้างภายนอกของใบ

ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้านใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลำต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ การที่ใบพืชมีลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให้ได้พลังงานไปใช้ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารรับสีที่รับพลังงานแสง แต่ใบบางชนิดมีสีแดงหรือม่วง เป็นเพราะภายในใบมีการสร้างสารสีอื่นๆ เช่น แอนโทไซยานิน (anthocyanin) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งถ้ามีมากกว่าคลอโรฟิลล์จะทำให้ใบมีสีแดงหรือเหลือง

ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเส้นใบ (vein) แตกแขนงออกมาจากเส้นกลางใบ (midrib) เพื่อให้การลำเลียงสารต่างๆ จากท่อลำเลียงไปสู่ทุกๆ เซลล์ของใบได้ทั่วถึง ก้านใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นกาบที่มีเส้นใบขนาดใหญ่เรียงขนานกันจนถึงปลายใบ พืชบางชนิดเส้นใบย่อยแตกแขนงตั้งฉากกับเส้นใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย และเส้นใบย่อยก็ยังเรียงขนานกันเองอีกด้วย

2. โครงสร้างภายในของใบ

ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น

1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมีน้อยยกเว้นเซลล์คุม เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบ เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน พืชที่ใบลอยปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด

2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทำให้โครงสร้างภายในแบ่งเป็น2 ชั้นคือ

2.1 แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก

2.2 สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์

3. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด บันเดิลชีทในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทำให้มัดท่อลำเลียงแข็งแรงเร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมีคลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช มัดท่อลำเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์

03 ตุลาคม 2553

ประเพณีของภาคเหนือ !!~!

ชื่อ ประเพณีตานก๋วยสลาก
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด ลำพูน

ช่วงเวลา ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นการถวายทานโดยไม่เจาะจงผู้รับ จะทำกันตั้งแต่วันเพ็ญเดือน ๑๒ เหนือ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ใต้) จนถึงเกี๋ยงดับ (แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ใต้)


♥ ความสำคัญ
ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นประเพณีในพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในล้านนาไทย ซึ่งสืบเนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดมาช้านานคือ

๑. ประชาชนว่างจากภารกิจการทำนา
๒. ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน
๓. พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อม
๔. ผลไม้มากและกำลังสุก เช่นส้มโอ ส้มเกลี้ยง กล้วย อ้อยฯลฯ
๕. ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจน เป็นสังฆทาน
๖. ถือว่ามีอานิสงส์แรง คนทำบุญจะมีโชคลาภ
๗. มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัด

♥ ก๋วยสลากแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. สลากน้อย หรือก๋วยเล็ก ใช้อุทิศแด่ผู้ตาย หรือเป็นกุศลมากขึ้น
๒. สลากก๋วยใหญ่ หรือสลากโชค หรือเป็นสลากที่บรรจุในก๋วยใหญ่ใช้เป็นมหากุศลสำหรับบุคคลที่มีกำลังศรัทธา และมีเงินทองมาก ทำถวายเพื่อเป็นปัจจัยภายหน้า ให้มีบุญกุศลมากขึ้น

♥ พิธีกรรม

พิธีกรรมในประเพณีตานก๋วยสลากมี ๒ วัน คือ

๑. ก่อนทำพิธี"ตานก๋วยสลาก" ๑ วัน เรียกว่าวันดาเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเพื่อใส่ในก๋วยสลาก ผู้ชายจะตัดไม้มาจักตอกสลากก๋วย (ชะลอม) ไว้หลายๆใบตามศรัทธาและกำลังทรัพย์ ฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมสิ่งของที่จะนำมาบรรจุในก๋วย เช่นข้าวสาร พริกแห้ง หอม กระเทียม เกลือ กะปิ น้ำปลา ขนม เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ เทียนไข สีย้อมผ้า ผลไม้ รวมทั้งเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วบรรจุลงในก๋วยสลากที่กรุด้วยใบตอง ใบหมากผู้หมากเมีย"ใส่ยอด" คือธนบัตร ผูกติดไม้ เสียบไว้ในก๋วยให้ส่วนยอดหรือธนบัตรโผล่มาแล้วรวบปากก๋วยสลากตกแต่งด้วยดอกไม้ "ยอด" หรือธนบัตรที่ใส่นั้นไม่จำกัดว่าเป็นจำนวนเท่าใดส่วนสลากโชคหรือสลากก๋วยใหญ่ ของที่นำบรรจุในก๋วยเช่นเดียวกับสลากน้อยแต่ปริมาณมากกว่าหรือพิเศษกว่า สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือหลังเล็กมีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หม้อข้าว หม้อแกง ถ้วยแกงถ้วยชาม เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม อาหารสำเร็จรูปใส่ไว้ด้วย มีต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกติดไว้ "ยอด" หรือธนบัตรจะใส่มากกว่าสลากน้อยก๋วยสลากทุกอันต้องมี "เส้นสลาก" ซึ่งทำจากใบลานหรือปัจจุบันใช้กระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ เขียนชื่อเจ้าของไว้ และยังบอกอีกว่าจะอุทิศไปให้ใคร เช่น " สลากข้างซองนี้ หมายมีผู้ข้า นาย... นาง ขอทานไปถึงกับตนภายหน้า " หมายถึงถวายทานเพื่อเป็นกุศลแก่ตนเองเมื่อล่วงลับไป และอีกแบบหนึ่ง คือ"สลากข้าวซองนี้ หมายมีผู้ข้านาย.....นาง.....ขอทานไปถึงยังนาย/นาง....(ชื่อผู้ตาย) ผู้เป็น.......(ความเกี่ยวข้องกับผู้ให้ทาน)ที่ล่วงลับ ขอให้ไปรอดไปถึงจิมเต่อ" หมายถึงอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันดาสลาก จะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงจากหมู่บ้านต่างๆ ที่รู้จักมาร่วมทำบุญ โดยนำเงินหรือผลไม้เช่น กล้วย อ้อย ฯลฯ มาร่วมด้วยและช่วยจัดเตรียมสิ่งของใส่ก๋วยสลาก เจ้าภาพต้องเลี้ยงดูอาหาร เหล้ายาและขนม
๒. วันทานสลาก ชาวบ้านนำก๋วยสลากที่จัดทำแล้วไปวัด และเอา"เส้นสลาก" ทั้งหมดไปรวมกันที่หน้าพระประธานในวิหาร จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย ๑ กัณฑ์ ผู้รวบรวมสลากมักจะเป็นมัคทายก (แก่วัด) นำเส้นสลากทั้งหมดมารวมกันแล้วแบ่งเส้นสลากทั้งหมด เป็น ๓ ส่วน(กอง) ส่วนหนึ่งเป็นของพระเจ้า (คือของวัด)อีก ๒ ส่วนเฉลี่ยไปตามจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มาร่วมในงานทำบุญ หากมีเศษเหลือมักเป็นของพระเจ้า (วัด) ทั้งหมดพระภิกษุสามเณรเมื่อได้ส่วนแบ่งแล้ว จะยึดเอาชัยภูมิแห่งหนึ่งในวัดและออกสลากคือ อ่านชื่อเส้นสลากดังๆ หรือให้ลูกศิษย์(ขะโยม) ที่ได้ตะโกนตามข้อความที่เขียนไว้ในเส้นสลาก หรือเปลี่ยนเป็นคำสั้นๆเช่น ศรัทธา นายแก้ว นามวงศ์ มีนี่เน้อ " บางรายจะหิ้ว "ก๋วย" ไปตามหาเส้นสลากของตนตามลานวัดเมื่อพบสลากของตนแล้วจะเอาสลากของตนถวายพระ พระจะอ่านข้อความในเส้นสลากและอนุโมทนาให้พรแล้วคืนเส้นสลากนั้นให้เจ้าของสลากไป เจ้าของสลากจะนำเส้นสลากไปรวมในวิหาร เมื่อเสร็จแล้วมัคทายกหรือแก่วัด จะนำเอาเส้นสลากนั้นไปเผาหรือทิ้งเสีย

♥ สาระ
การตานก๋วยสลากมีประโยชน์และคุณค่าดังนี้

๑. เป็นการสร้างความสามัคคีกันของคนในหมู่บ้านใกล้เคียง
๒. เป็นการแสดงความกตัญญูต่อญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว
๓. เป็นการบริจาคทานที่ถือว่ามีอานิสงส์มาก
๔. เป็นการหาเงินและวัสดุมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัด

27 กันยายน 2553

โ ร ค ค ว า ม ดั น โ ล หิ ต ต่ำ ^ ^

โรคที่เกิดกับวันรุ่น...โรคความดันโลหิตต่ำ
โรคความดันโลหิตนั้นไม่ได้มีแค่ความดันโลหิตสูง เท่านั้น แต่ภาวะความดันโลหิตต่ำก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง เพราความดันต่ำจะทำให้คุณเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนแรง เป็นลมได้ง่าย และมีอาการวิงเวียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปลี่ยนท่าจากท่านอน มาเป็นยืนหรือนั่ง
สาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ
§ สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง และคลายตัวมากเกินไป
§ การสูญเสียโลหิต ทั้งแบบกะทันหัน เช่นอุบัติเหตุ หรือการสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง เช่น บาดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้หรือที่ไต
§ การสูญเสียน้ำ เช่น เหงื่อ ท้องเสีย
§ การติดเชื้อรุนแรง
§ โรคหัวใจ
§ การตั้งครรภ์
§ ภาวะซึมเศร้า
♥ การบำบัดภาวะความดันโลหิตต่ำ
Ø การดื่มน้ำคั้นบีทรูทสด วันละ1-2 แก้ว สามารถช่วยปรับความดันได้เป็นอย่างดี
Ø รับประทานอาหารที่มีโปรตีน วิตามินบี และวิตามินซีอย่างเพียงพอ เพราะอาหารเหล่านี้จะกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนต่อมหมวกไต ช่วยในการปรับระดับความดันโลหิตให้สูงขึ้น
Ø การอาบน้ำหรือการแช่ตัวในน้ำเกลือ Epsom (เกลือแมกนีเซียมซัลเฟต) โดยละลายเกลือกับน้ำในอัตราส่วน 1: 1 เกลือชนิดนี้มีขายทั่วไปตามร้านขายยา และนิยมใช้แช่ตัวในขบวนการล้างพิษอีกด้วยเนื่องจากเกลือชนิดนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการคัน อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และช่วยชะล้างสารพิษ สำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ การแช่ตัวในน้ำเกลือ Epsom ประมาณ 10 – 20 นาทีก่อนนอน จะช่วยปรับความดันให้สูงขึ้น
Ø นำลูกเกด 32 เม็ดมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นเมื่อตื่นเช้ามา ให้เคี้ยวลูกเกดทีละเม็ดร่วมกับการดื่มน้ำ
Ø บดใบกระเพรา 10 –15 ใบมาบดและผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา รับประทานเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
Ø โยคะ ท่าโยคะบางท่าสามารถช่วยปรับสมดุลความดันได้ดี ในกรณีที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ

1. ท่าshoulder stand
เริ่มจากนอนหงายราบกับพื้น วางมือคว่ำไว้ข้างลำตัว หายใจเข้าพร้อมกับออกแรงวางมือไว้ที่พื้นพร้อมกับดันขาขึ้นจากพื้น ค่อยๆยกสะโพกและหลังขึ้นจากพื้น ค่อยๆหายใจออกพร้อมกับขยับมือจากพื้นมาวางพยุงที่หลังไว้ ค่อยๆปรับให้ขาและหลังตรงอยู่ในแนวเดียวกัน จะรู้สึกว่าคางสัมผัสกับอยู่บริเวณคอหอย หายใจเข้า-ออกลึกๆ เป็นจังหวะ

2. ท่า plough
เป็นท่าต่อเนื่องจากshoulder stand คือหลังจากที่ค้างให้แผ่นหลังและขาอยู่ในระนาบเดดียวกันในแนวตั้งสักพัดแล้ว เราจะค่อยๆวางขาลงที่พื้น ( เคลื่อนขาผ่านศีรษะไป) แล้ววางปลายเท้าลงที่พื้นโดยที่ขาทั้ง2ข้างอยู่ในท่าเหยียดตรง
3. การฝึกหายใจ มีผลต่อสมดุลของความดันโลหิต วิธีนี้สามารถฝึกได้ทั้งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและความดันต่ำ
โยคะ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ซึ่งมีทุกท่าทางการเคลื่อนไหว มีความสัมพันธ์กับการหายใจ จะเป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ มีจังหวะ และรวบรวมสมาธิไว้ ณ จุดหนึ่ง โดยแต่ละท่าจะเป็นการยืดและเหยียดกล้ามเนื้อทั้งสองข้าง ผู้ฝึกจะมีความเชื่อว่าลมหายใจเป็นแหล่งกำเนิดของพลังงานทั้งหลายที่ร่างกายนำไปใช้ ดังนั้นการหายใจขณะฝึกโยคะจะเป็นการหายใจลึกๆ ช้าๆ เป็นจังหวะ และเมื่อหายใจเข้าสุดแล้วจะกลั้นลมหายใจไว้ขณะหนึ่งก่อนที่จะหายใจออกอย่างช้าๆและเป็นจังหวะเช่นกัน โยคะจึงจัดเป็นศาสตร์ที่คงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ
การฝึกหายใจอย่างสมบูรณ์ สามารถฝึกด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
v เริ่มจากนอนหงายหน้า วางมือไว้บนท้อง ขณะหายใจเข้าทางจมูก ให้สังเกตว่าหน้าท้องมการพองขึ้น โดยดูจากนิ้วที่แยกห่างออกจากกัน ค่อยๆปล่อยลมหายใจออก
v เลื่อนมือมาไว้ที่กระดูกซี่โครง ตอนนี้ให้หายใจเข้าแล้วสังเกตการขยายตัวของกระดูกซี่โครงแทน โดยดูจากนิ้วที่แยกห่างออกจากกัน ค่อยๆปล่อยลมหายใจออก
v เลื่อนมือมาวางไว้ที่คอ หายใจเข้าโดยพยายามใช้หน้าอกช่วงบนเท่านั้น จะสังเกตเห็นว่านิ้วจะถือยกสูงขึ้นขณะหายใจเข้า และค่อยๆปล่อยลมหายใจออก
v วางมือทั้ง 2 ข้างไว้ข้างลำตัว โดยหงายมือขึ้น และทำการหายใจทั้ง 3 ขั้นที่ผ่านมา เริ่มจากหายใจเข้าให้หน้าท้องพองขึ้น หายใจออก จากนั้นใช้กล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อหน้าอกตามลำดับ
สมดุลของการหายใจ (นาดิ โสดานา)
นาดิ โสดานา เป็นศาสตร์หนึ่งที่พัฒนามาจากโยคะประเภทปราณยามา ซึ่งเป็นการฝึกหายใจโดยตรง เป็นการหายใจเข้า-ออกด้วยรูจมูกข้างเดียว ซึ่งจะส่งผลถึงระบบประสาทและสร้างความสมดุลในการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา
การฝึกหายใจด้วยวิธีนี้ ควรทำในช่วงเช้าและช่วงเย็น ครั้งละ 5 นาที ซึ่งในการฝึกนั้นไม่ต้องกลั้นลมหายใจ สำหรับวิธีการฝึก มีขั้นตอนดังนี้
v นั่งหลังตรง วางขาทั้ง 2 ข้างราบกับพื้น หลับตา ทำใจให้ผ่อนคลาย
v วางมือขวาไว้บนสันจมูก โดยให้นิ้วโป้งสัมผัสบนจมูกข้างขวา ส่วนนิ้วกลางและนิ้วนาง สัมผัสกับจมูกด้านซ้าย
v ข้อศอกขวาอยู่ชิดลำตัว (อยู่ในท่าที่จะไม่ทำให้เมื่อยแขน ) อย่าวางแขนบนพนักเก้าอี้
v ใช้นิ้วโป้งปิดรูจมูกข้างขวาและหายใจออกด้วยรูจมูกข้างซ้าย แล้วหายใจเข้าด้วยรูจมูกข้างซ้าย
v ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางปิดรูจมูกข้างซ้ายและหายใจออกด้วยรูจมูกข้างขวา แล้วหายใจเข้าด้วยรูจมูกข้างขวา
หมายเหตุ คุณไม่จำเป็นต้องหายใจลึกๆ เพียงแค่หายใจช้าๆก็พอ
v ทำตามขั้นตอนดังกล่าวประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นปล่อยแขนพัก นั่งหลับตาอีกประมาณ 1-2 นาที
สำหรับผู้ที่ฝึกใหม่ ในตอนแรกอาจจะรู้สึกหมุนศีรษะได้บ้าง และอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้น

11 กันยายน 2553

5 วิ ธี การ ช่วย ลด พุง ดึ๋ง ๆ ^_____^


>>>>> 5 วิ ธี การ ลด พุง ดึ๋ง ๆ >>>>>

1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่พยามยามลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน และไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะ อาจทำให้คุณรับประทานอาหารมื้อถัดไปมากขึ้น ที่สำคัญควรรับประทานประเภทผักใบเขียว เพราะจะมีใยอาหาร อยู่มาก

2.พยายามดื่มน้ำก่อนอาหาร เพื่อถ่วงกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือเลือกรับประทาน ใยอาหาร ก่อนอาหาร ประมาณครั้งชั่วโมงแทน

3.เพื่อผลทางจิตวิทยา ควรใช้ภาชนะเล็กลง โดยมีปริมาณอาหารเท่าเดิมเพื่อให้ดูว่ามีอาหารมากขึ้น และควรใช้ ช้อน ขนาดเล็กเพื่อจะได้รับประทานช้าลง ที่สำคัญควรฝึกเคี้ยวช้า ๆ จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น

4.หาเวลาออกกำลังกายที่เหมาะสมมากขึ้น มักมีความเชื่อผิด ๆ กันว่า การออกกำลังกายมากขึ้นจะทำให้หิว เร็ว และ รับประทาน อาหารมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ไม่ได้ออกกำลังกายจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย จึงมักขจัด ความเบื่อนี้ ด้วยการรับประทาน การออกกำลังกายจึงเป็นวิธีช่วยลดความเบื่อหน่าย และเพิ่มการใช้พลังงาน เพื่อเผาผลาญ ไขมันสะสม ให้ลดน้อยลง

5.สร้างสิ่งจูงใจ หรือทัศนคติดี ๆ ต่อพฤติกรรมใหม่ ๆ เช่น การเขียนข้อความเกี่ยวกับการลดความอ้วน หรือชุดสวย ๆ ในสมัยก่อนที่เคยใส่ได้ เพื่อให้เห็นถึงเป้าหมาย และสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้มีความพยายามมากขึ้น และที่สำคัญ ที่สุด พยายามพักผ่อนให้มาก ๆ ไม่มีประโยชน์เลย ถ้ามีรูปร่างที่สวยงามอย่างที่ต้องการ แต่ต้องอาศัยอยู่ ในโรงพยาบาล เนื่องจากสุขภาพไม่ดี


เพียงเท่านี้ทุกคนก็ไม่พฃมีพุงดึ๋งให้อายอีกแล้วค่ะ.....ด้วยความปรารถนาจาก(เนเจอร์กิฟ...ล้อเล่นค่ะ)อยากเห็นทุกคนดูดี